เมนู

พึงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น แสดง
มรรคเป็นเบื้องกลาง แสดงนิพพานเป็น
เบื้องหลาย นี้เป็นจุดยืน (หลัก) ของ
พระธรรมกถึก.

บทว่า สาตฺถ สพฺยญฺชนํ ความว่า เทศนาของพระธรรมกถึกใด
อาศัยพรรณนาเรื่องข้าวต้มข้าวสวยผู้หญิงผู้ชายเป็นต้น พระธรรมกถึกนั้นชื่อว่า
ไม่แสดงธรรมเป็นสาตถะมีประโยชน์ ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนา
เช่นนั้น ทรงแสดงเทศนาอาศัยสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น เพราะฉะนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ทรงแสดงธรรมเป็นสาตถะมีประโยชน์. อนึ่ง เทศนาของภิกษุใด
ประกอบด้วยพยัญชนะเดี่ยวเป็นต้น หรือมีพยัญชนะบอดทั้งหมด หรือมี
พยัญชนะเปิดทั้งหมดกดทั้งหมด เทศนาของภิกษุนั้น ชื่อว่า อพยัญชนะ
เพราะไม่มีความบริบูรณ์ด้วยพยัญชนะ เหมือนภาษาของคนมิลักขะเช่น เผ่า-
ทมิฬเผ่าคนป่าและคนเหลวไหลเป็นต้น. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนา
เช่นนั้น ทรงไม่แตะต้องพยัญชนะ 10 อย่าง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
1. ลิถิล 2. ธนิต 3. ทีฆะ 4. รัสสะ
5. ลหุ 6. ครุ 7. นิคคหิต 8. สัมพันธะ
9. ววัตถิตะ 10. วิมุตตะ ซึ่งเป็นหลักการ

ขยายตัวพยัญชนะ 10 ประการ


ทรงแสดงธรรมมีพยัญชนะบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทรงแสดง
ธรรมเป็นสพยัญชนะพร้อมพยัญชนะ. คำว่า เกวลํ ในคำว่า เกวลปริปุณฺณํ
นี้ แปลว่า สิ้นเชิง. บทว่า ปริปุณฺณํ แปลว่า ไม่ขาดไม่เกิน. ท่าน
อธิบายไว้ดังนี้ว่า ทรงแสดงธรรมุบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว แม้เทศนาสักอย่างหนึ่ง
ที่ไม่บริบูรณ์ไม่มี. บทว่า ปริสุทฺธํ แปลว่า ปราศจากความหม่นหมอง.
จริงอยู่ พระธรรมกถึกใดอาศัยธรรมเทศนานี้ แสดงธรรมด้วยมุ่งจักได้ลาภหรือ